ประวัติความเป็นมาของสมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย (Thailand DanceSport Association : TDSA) เป็นสมาชิกถาวรของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (International DanceSport Federation : IDSF) ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์ กีฬาลีลาศโลก (World DanceSport Federation : WDSF) ที่ไดรับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee : IOC) นอกจากนี้สหพันธ์ฯยังเป็นสมาชิกของ GAISF (Gerneral Association of International Sport) IWGA (International World Games Association) ARISF (Association of The IOC Recognized Sport Federations) ปัจจุบันสหพันธ์กีฬาลีลาศโลก มีสมาชิกรวม 100 ประเทศ และมี สมาชิก 68 ประเทศ ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการโอลิมปิกในประเทศ (National Olympic Committee : NOC) และการกีฬาแห่งประเทศไทย (Sports Authority of Thailand : SAT)
สมาคมฯ มีชื่อเดิมว่าสมาคมลีลาศสมัครเล่น (ประเทศไทย) ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยนายสิทธิชัย ปรียาดารา ซึ่งมี นายจรัญ เจียรวนนท์ เป็นนายกสมาคมฯคนแรก และดำรงแหน่งจนปัจจุบัน นอกจากนี้สมาคมฯ ยังได้รับเกียรติ จาก ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นนายกกิติมศักดิ์และประธานที่ปรึกษา อีกด้วย
โดยเริ่มจดทะเบียนสมาคมฯ เป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2535 จุดประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฯ ในครั้งนั้น เพื่อเป็นแกนกลางในการส่งเสริมกีฬาลีลาศให้แพร่หลาย และพัฒนาลีลาศให้เป็นมากกว่ากิจกรรมทาง สังคม คือความเป็นกีฬาลีลาศที่มีมาตรฐานสากล และมีกฎ กติกา มารยาท เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นกีฬาลีลาศใน รูปแบบของการแข่งขัน
สมาคมฯ ได้จัดงานเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2535 โดยมีคำขวัญของสมาคมฯ ว่า “กีฬาลีลาศ เพื่อสุขภาพ มิตรภาพ บุคลิกภาพ สังคม และบันเทิง” และมีวิสัยทัศน์ ของสมาคมฯ ว่า
“พัฒนากีฬากีลาศ สู่ความเป็นเลิศระดับโลก และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกีฬาลีลาศแห่งเอเซีย”
ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน 2540 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้ประกาศให้การรับรองลีลาศอย่างเป็น ทางการให้เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาภายใต้กฎ กติกา ของโอลิมปิกสากล ในขณะเดียวกัน สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งเอเซีย (Asian DanceSport Federation : ADSF) ก็ได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีนายสุชัย เพียรพัฒนางกูร เป็นประธานสหพันธ์ฯคน แรก โดยได้รับการสนบัสนุนจาก สมาชิกภาคพื้นเอเชียหลายประเทศ เพี่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสภาโอลิมปิกแห่ง เอเซีย (Olympic Council of Asia: OCA) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพยายามผลักดันให้กีฬาลีลาศเข้าเป็นหนึ่งในชนิด กีฬาของการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2541 ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จได้เข้าร่วม เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ คร้ังที่ 13 “บางกอกเกมส์” ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของโลกที่ลีลาศ ได้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา ภายใต้กฏ กติกา ของโอลิมปิก และในครั้งนั้นนักกีฬาลีลาศของประเทศไทยได้รับ รางวัลเหรียญทองในประเภท Latin American
จากการที่โอลิมปิกสากลได้รับลีลาศให้เป็นกีฬา ทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ ให้การรับรองกีฬาลีลาศและให้สมาคมลีลาศสมัครเล่น(ประเทศไทย) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบใน การจัดการแข่งขัน และส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติและระดับโลก เพื่อชื่อเสียงของประเทศชาติ ต่อไป หลังจากนั้นการกีฬาแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” และได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม สมาคมลีลาศสมัครเล่น (ประเทศไทย) เป็น สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นอาชีพหรือ สมัครเล่น สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหพันธ์กีฬาลีลาศโลก WDSF หลังจากนั้น กีฬาลีลาศก็ได้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติและกีฬาเยาวชนแห่งชาติ โดยเริ่มจาก เข้าร่วมเป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาเยาวชน แห่งชาติคร้ังที่ 15 “ยะลาเกมส์” ที่จังหวัดยะลา และได้เข้าร่วมในกีฬาแห่งชาติอย่างเป็นทางการในกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 “มหานครเกมส์” ณ กรุงเทพมหานคร กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 “เมืองช้างเกมส์” ณ จังหวัดสุรินทร์ และทุกปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการจัดการแข่งขันในระดับนักเรียน นักศึกษา อาทิ กีฬานักเรียนนักศึกษา แห่งชาติ กีฬาโรงเรียนสาธิตแห่งประเทศไทย กีฬานักเรียนกรุงเทพมหานคร กีฬาเสริมทักษะวิชาชีพ กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นต้น ตลอดจนถึง ระดับองค์กร อาทิ กีฬารัฐวิสาหกิจ กีฬาบุคลากร และกีฬาผู้สูงอายุ (Masters Games)
จากอดีตถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 25 ปี สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจกรรมมาอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ อาทิเช่น
1. การจัดกิจกรรมลีลาศเพื่อสุขภาพ งานแพรวพราวดาวลีลาศ งานละ 1 ครั้งต่อเดือน ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อเปิดโอกาศให้สมาชิกของสมาคมฯได้ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์กัน
2. การจัดโครงการอบรม ผู้ฝึกสอนกีฬาลีลาศและผู้ตัดสิน โดยได้รับการสนับสนุน จากการกีฬาแห่งประเทศ ไทย ปีละ 4 ครั้ง แบ่งเป็นระดับขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง และระดับผู้ตัดสิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน
3. การจัดงานลีลาศต้านยาเสพติดและการแข่งขันกีฬาลีลาศ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร เพื่อปลูกฝังให้ เยาวชนและประชาชนทั่วไปหันมาเล่นกีฬา ห่างไกลยาเสพติด ณ อาคารลีลาศสวนลุมพินี
4. การจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศ ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกตัวแทน นักกีฬาลีลาศไปแข่งขันต่างประเทศ
5. การจัดการแข่งขันระดับโอเพ่น เช่น เชียงใหม่โอเพ่น ระยองโอเพ่น ระนองโอเพ่น พิษณุโลกโอเพ่น บ้านฉางโอเพ่น สงขลาโอเพ่น สุรนารีโอเพ่น ฯลฯ
6. การจัดการแข่งขันระดับนานาชาติและระดับโลก อาทิเช่น - การแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ “The Queen’s Cup DanceSport Championships (Open to the World) 1996”
- ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศนานาชาติ The Bangkok Cup 2000 DanceSport Championships (Open to the World)
- การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ The 1st Asian Indoor Games 2005 ณ กรุงเทพมหานคร
- ร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศยุวชนโลก Internation Children Games 2006
- การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเซาท์อิสเอเซียเกมส์ The 24th Sea Games 2007 ณ จังหวัดนครราชสีมา
- การจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศชิงชนะเลิศแห่งเอเซีย IDSF Asian DanceSport Championships 2007 ณ กรุงเทพมหานคร
- การจัดการแข่งขันกีฬาลีลาศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี The “King’s Cup” Thailand Open DanceSport Championships (WDSF World Open Standard & Latin)
- การจัดส่งนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันยังต่างประเทศ ในรายการแข่งขันกีฬาลีลาศระดับเอเซีย ระดับนานาชาติ และระดับโลก ในรุ่นต่างๆ อาทิเช่น Asian Championships, Asian Pacific Championships, WDSF Open, World Open, World Championships,
7.จากการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลงานที่โดดเด่น ของสมาคมฯทำให้ปัจจุบันมีนักกีฬาลีลาศ ที่ขึ้นทะเบียนกับการกีฬาแห่งประเทศไทยทั่วประเทศกว่า 3,000 คน และ ได้รับการโหวดจากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา แห่งประเทศไทย ให้เป็น “สมาคมพัฒนาดีเด่น” ประจำ ปี 2551 จากสมาคมกีฬาทั่วประเทศ
©2019 สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย. All rights reserved.