ภาษาไทย English Language

 

ตัวอย่างรูปแบบการตัดเย็บเครื่องแต่งกายของนักกีฬาลีลาศ

รุ่น Juveniles

 การแต่งกายของเด็กหญิงประเภท Standard และ Latin     American

ตัวอย่างชุด A                  ตัวอย่างชุด B               ตัวอย่างชุด C

            A เสื้อไม่รัดรูปสีขาว ชุดบอดี้สูท หรือทีเชิ๊ต ใส่กับกระโปรงสีดำ
            B ชุดกระโปรงธรรมดา (ชุดกระโปรง + กางเกงชั้นใน) สีเดียวกัน ยกเว้นไม่ให้ใช้สีเนื้อ
            C ชุดบอดี้สูทพร้อมด้วยชุดกระโปรง สีเดียวกัน
รูปแบบการตัดเย็บ  : ชุดแต่งกายของเด็กหญิงในรุ่นจูเวนไนล์
             A. ช่วงคอเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต

             B. แขนเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต

      

             C. กระโปรง
              - อนุญาตให้เป็นกระโปรงเรียบหรือจับจีบตัดเย็บไม่น้อยกว่า 1 ครึ่งวงกลมและไม่เกิน 3 ครึ่งวงกลม    
                 เท่านั้น อนุญาตให้มีซับในธรรมดา 1 วงกลม ไม่อนุญาตให้มีซับในที่ใหญ่กว่านั้น
              - ไม่อนุญาตให้มีการติดระบายบนตัวกระโปรงและชายกระโปรง การกุ้นหรือการแซกชายกระโปรง
              -  ความยาวของชายกระโปรงต้องอยู่เหนือเข่าไม่เกิน 10 ซม. และยาวได้ไม่เกินคลุมเข่า
              - ไม่อนุญาตให้มีการตัดเย็บด้วยวิธีอื่นอีก

                  

ผ้าที่ใช้ตัดชุด  ต้องไม่เป็นผ้าซีทรู (See Through) และไม่อนุญาตให้ใช้วัสดุที่มีลักษณะเป็นโลหะในการตัดชุด ใช้ ผ้าต่างชนิดร่วมกันได้แต่ต้องเป็นโทนสีเดียวกัน
การใช้สีผ้า  ใช้สีอะไรก็ได้ยกเว้นสีเนื้อหรือสีผิวหนัง ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว ชุดชั้นในต้อง เป็นสีเดียวกับชุด
การตกแต่งชุด  ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งใดๆ เช่น พลอยเทียมที่คล้ายเพชร เลื่อม ลูกปัด ขนนก ดอกไม้ โบว์  ไหมญี่ปุ่น และลูกไม้ต่างๆ ฯลฯ
รองเท้า  ส้นรองเท้าต้องเป็นบล็อก (Block Heel)ลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมเท่านั้น ส้นต้องไม่สูงเกิน 3.5เซนติเมตร ใช้สีอะไรก็ได้ จะสวมถุงเท้าด้วยก็ได้ สวมถุงน่องสีเนื้อก็ได้ แต่ไม่อนุญาตให้สวมถุงน่องที่เป็นตาข่าย
ทรงผม ห้ามตกแต่งทรงผมที่พิถีพิถันและมีทรงสูงผมถักปลอม เครื่องประดับ สเปรย์ฉีดผมที่มีสี และห้ามโรย กากเพชร
การเมคอัพ (Make up) ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ ห้ามใส่ขนตาปลอม เล็บปลอม โรยกากเพชร ย้อมสีผิว    และห้ามทาสีเล็บ
เครื่องประดับ  ห้ามใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ แหวน สร้อยคอ ฯลฯ
การแต่งกายของเด็กชายประเภท Standard และ Latin American

                                                                     

แบบตัวอย่าง: ชุดแต่งกายของเด็กชายรุ่นจูเวนไนล์ (Juvenile)


           เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีขาว  กางเกงขายาวสีดำ มีสายรัดคล้องรองเท้าได้ อนุญาตให้ใส่เข็มขัดสีดำ มีหัวเข็มขัด เป็นโลหะได้ และต้องผูกไทน์หรือโบว์ไทน์ทั้งแบบ Latin และแบบ Standard อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์ได้และเสื้อ ต้องสอดเข้าในกางเกง

                                                       

   แบบตัวอย่าง:เสื้อเชิ้ตของเด็กชายรุ่นจูเวนไนล์ (Juvenile)

             - เสื้อเชิ้ตแขนยาวเรียบง่ายธรรมดา
             - ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่ส่องประกายหรือผ้าที่มีลวดลายควรจะเป็นผ้าที่เป็นฝ้ายหรือใยสังเคราะห์
             - ไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อคอปีก
             - ห้ามพับแขนเสื้อ
             - ต้องสอดเสื้อเข้าในกางเกง

การตกแต่งชุด  ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งใดๆ
รองเท้า   รองเท้าสีดำส้นเตี้ยไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร และต้องสวมถุงเท้าสีดำ
ทรงผม   ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
การเม๊คอัพ (Make up)  ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ
เครื่องประดับ  ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ

รุ่น Junior 1

การแต่งกายเด็กหญิงทั้งประเภท Standard และ Latin American

ชุดแข่งขันที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ เช่น (พลอยเทียมที่คล้ายเพชร,ลูกปัด,มุก และขนนก) ห้ามใช้วัสดุที่ทำ จากโลหะ ผ้าที่ส่องแสงสะท้อนเป็นประกายระยิบระยับ และผ้าเลื่อม ตัดเย็บชุด ใช้ผ้าหลากสีได้ ผ้าลายปัก ผ้าลูกไม้ถักหรือทอ ประดับดอกไม้หรือไหมญี่ปุ่นได้
การใช้สี    ให้ใช้สีอะไรก็ได้ยกเว้นสีเนื้อ หรือสีผิวหนัง    ชดุชั้นในต้องเป็นสีเดียวกับชุดที่สวมใส่
รองเท้า  ส้น 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร ส้นบล๊อกหรือส้นเรียวก็ได้ ใส่ถุงเท้าสั้นได้ แต่ไม่ให้ใส่ถุงน่องที่เป็นตาข่าย
ทรงผมและการเม๊คอัพ(Make up)   Junior 1 และ Juvenile ใช้กฏเกณฑ์เดียวกัน
เครื่องประดับ ห้ามใส่เครื่องประดับใดๆ เช่น กำไลมือ แหวน สร้อยคอ ฯลฯ

การแต่งกายเด็กชายประเภท Latin American

                                                                    

แบบตัวอย่าง : การแต่งกายเด็กชายประเภทลาติน รุ่นจูเนียร์ วัน (Junior I)

เสื้อเชิ๊ต หรือเสื้อแขนยาวสีขาว หรือสีดำ เท่านั้น (ห้ามพับแขนเสื้อขึ้น)  ใส่กับเสื้อกั๊กสีดำก็ได้ ใส่เนคไทน์ หรือโบว์ไทน์ สีดำหรือสีขาวด้วยก็ได้  ใส่กางเกงขายาวสีดำ เข็มขัดสีดำ มีหัวเข็มขัดเป็นโลหะด้วยก็ได้ เสื้อต้องสอด เข้าในกางเกง อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์เป็นโลหะได้
            สำหรับผ้าที่ใช้ตัดชุดท่อนบน ให้ดูที่ระเบียบการแต่งกายของรุ่นผู้ใหญ่ (Adult)
การตกแต่งชุด ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งใดๆ
รองเท้า   เหมือนกับรุ่น Juvenile
ทรงผม    ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
การเม๊คอัพ(Make up) ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ
เครื่องประดับ ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ

การแต่งกายเด็กชายประเภท Standard

                                                                    

แบบตัวอย่าง : การแต่งกายเด็กชายประเภทสแตนดาส์ด รุ่นจูเนียร์ วัน (Junior I)

 เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีขาว เสื้อกั๊กสีดำ กางเกงขายาวสีดำ ผูกเนคไทน์ หรือโบว์ไทน์ สีดำ หรือสีขาว อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์ หรือกระดุมข้อมือได้
การตกแต่งชุด ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งชุด
รองเท้า ให้ใส่รองเท้าสีดำส้นเตี้ย สวมถุงเท้าสีดำ
ทรงผม    ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
การเม๊คอัพ( Make up)   ไม่อนุญาตให้มีการเม๊คอัพ
เครื่องประดับ ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ
        อนุญาตให้ใช้เครื่องแต่งกาย รุ่นที่ต่ำกว่าเสมอตัวอย่างเช่น Junior I  สามารถที่จะใช้  เครื่องแต่งกายของ Juvenile หรือ Junior II  สามารถที่จะใช้ของ Junior I  ได้ ถ้า Junior I และ Junior II ไม่แบ่งแยก ให้ใช้ระเบียบ การแต่งกายของ Junior II

รุ่น Junior II

การแต่งกายเด็กหญิง  ประเภท สแตนดาร์ด และ ลาตินอเมริกัน  เหมือนJunior I หรือ Youth  
การแต่งกายเด็กชายประเภท Latin American   เหมือน Junior I หรือ Youth
การแต่งกายเด็กชายประเภท Standard
              กางเกงขายาวสีดำ หรือ สีกรมท่า ใส่กับเสื้อกั๊ก หรือกางเกงขายาวสีดำ หรือสีกรมท่า ใส่กับเจ๊กเก็ต  สวม ร่วมกับเสื้อเชิ๊ตแขนยาว  และไทน์สีดำ หรือ เสื้อเชิ๊ตสีขาวคาดหูกระต่ายสีขาว  อนุญาตให้ใส่ที่หนีบไทน์เป็นโลหะได้  หรือ  ชุดหางยาว (Tail Suit) สีดำหรือสีกรมท่า พร้อมชุดประดับ (เสื้อเชิ้ต โบว์ไทน์ กระดุม ฯลฯ)
การตกแต่งชุด   ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งใดๆ
รองเท้า    รองเท้าสีดำส้นเตี้ย  สวมถุงเท้าสีดำ
ทรงผม   ควรเป็นผมทรงสั้น  ถ้าเป็นผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
เครื่องประดับ ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับ 

รุ่น Youth

การแต่งกายสุภาพสตรีประเภท Latin American


แบบตัวอย่าง : การแต่งกายประเภทลาติน รุ่นยูธส์ (Youth)

ความหมายของคำย่อ
       IA – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ
       PL – ส่วนที่เป็นกางเกงใน
       SA – ส่วนที่เป็นส่วนเว้า – ส่วนโค้ง
 (SHAPE)       HL – ส่วนที่เป็นสะโพก (HIP)

             ชุดแข่งขันมาตรฐาน

แถบบริเวณแนวสะโพก (Hip Line) และบริเวณสะโพก  รวมถึงบริเวณหน้าอกต้องปกปิดให้ มิดชิด (แนวของสะโพกหมายถึง  กระดูกสะโพกบน) ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้า ซีทรู (See Through) บริเวณนี้ ห้ามใช้ชุด ชั้นในผ่าสูงขึ้น  ห้ามผ่าเว้าลึกแนวสะโพกด้านบน แล้วใช้ผ้า ซีทรูเสริมทับในชุดชั้นในขณะยืนขึ้นกระโปรงควรคุม ชุดชั้นในได้มิดชิด  ขณะที่กำลังเต้นรำ ชุดชั้นในควรสามารถมองเห็นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเป็นชุด 2 ท่อน (Two Piece) ท่อนบนต้องไม่เป็นเหมือนเสื้อยกทรงตัวเดียว และขอบกระโปรงด้านหน้าต่ำกว่าสะดือได้ไม่เกิน 2 นิ้ว
การใช้สี    ใช้สีอะไรก็ได้ยกเว้นสีผิวเนื้อหรือสีผิวหนัง  ชุดชั้นใน ควรเป็นสีดำหรือสีเดียวกับชุดที่สวมใส่
รองเท้า    ไม่บังคับ
ทรงผมและการเม๊คอัพ(Make up) ไม่ควรที่จะเม๊คอัพเกินความจำเป็นและตกแต่งทรงผมพิถีพิถันเกินไป
เครื่องประดับ ประธานเทคนิคมีสิทธิ์ขอให้ ผู้เข้าแข่งขันถอดเครื่องประดับชิ้นใดชิ้นหนึ่งออก หากเห็นว่าอาจ ก่อให้เกิดอันตรายระหว่างคู่ของตัวเองหรือกับคู่แข่งขันอื่น
การแต่งกายสุภาพสตรีประเภท Standard


                แบบตัวอย่าง : การแต่งกายประเภทสแตนดาส์ด รุ่นยูธส์(Youth)

ความหมายของคำย่อ
IA – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ
PL – ส่วนที่เป็นกางเกงใน
SA – ส่วนที่เป็นส่วนเว้า – ส่วนโค้ง
(SHAPE)       HL – ส่วนที่เป็นสะโพก (HIP)

การแต่งกายสำหรับคู่ลีลาศที่เป็นหญิง
             
- ไม่อนุญาตให้ใช้ กางเกงชั้นในที่เว้าลึกไม่คลุมสะโพก (tangas)
            - ไม่อนุญาตให้สวมกางเกงชั้นในสีเนื้อ
            - ห้ามคอเสื้อเว้าลึก บริเวณหน้าอกต้องปกปิดให้มิดชิด
            - ช่วงห่างของฝาครอบทรงต้องห่างไม่เกิน 5 ซม.
            - ไม่อนุญาตให้ชุดมี 2 ท่อน ห้ามตัดเว้าต่ำกว่าเอว  
            - ห้ามใช้ผ้า ซีทรู บนบริเวณหน้าอก บริเวณเอวและสะโพก ถ้ากระโปรงเป็นแบบผ่า จะผ่าได้ จากช่วงเข่า
              ห้ามสูงเกินเข่า
สีชุด สีอะไรก็ได้ยกเว้นสีผิวเนื้อหรือสีผิวหนัง
ทรงผมและการเม๊คอัพ (Make up) ไม่ควรที่จะเม๊คอัพเกินความจำเป็น  และตกแต่งทรงผมอย่างพิถีพิถันเกินไป
รองเท้า  ไม่บังคับ
เครื่องประดับ ประธานเทคนิคมีสิทธิ์ขอให้ ผู้เข้าแข่งขันถอดเครื่องประดับชิ้นใดชิ้นหนึ่งออก  หากเห็นว่าอาจ ก่อให้เกิดอันตรายระหว่างคู่ของตัวเองหรือกับคู่แข่งขันอื่น
การแต่งกายสุภาพบุรุษประเภท Latin American


แบบตัวอย่าง : การแต่งกายสุภาพบุรุษประเภทลาติน รุ่นยูธส์(Youth)

ความหมายของคำย่อ
IA – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ
SA – ส่วนที่เป็นส่วนเว้า – ส่วนโค้ง (SHAPE)

                - กางเกงขายาวสีดำ หรือสีกรมท่า (ห้ามใช้ผ้าซีทรู “See Through”) 

                - เสื้อเชิ๊ตหรือชุดท่อนบน ใช้สีอะไรก็ได้รวมไปถึงผ้าหลากสี ยกเว้นสีผิวเนื้อหรือสีผิวหนัง สีที่ดู
                   ออกเป็นสีเดียวกันกับสีผิวของผู้แข่งขันระหว่างทำการแข่งขัน (ร่วมกับการ ย้อมสีผิว)  
                - ผ้าซีทรู  สามารถใช้ร่วมในการตกแต่งได้ แต่ไม่ใช่ใช้เป็นหลัก
                - ผ้าซีทรูที่ใช้ต้องมีไม่เกิน 25 %   
                - เสื้อเชิ๊ตหรือชุดท่อนบนต้องสอดเข้าข้างใน ไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อหรือชุดท่อนบนที่มีแขนกุด 
                - เสื้อเชิ๊ตเปิดได้ไม่เกินกระดูกหน้าอก 
                - จะใส่เสื้อกั๊กเเจ๊กเก็ต หรือเเจ๊กเก็ตเอวลอย (Bolero Jacket) ด้วยก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับกางเกงที่ใส่
                  จะผูกโบว์ไทน์ หูกระต่าย (Bowtie) หรือผ้าพันคอ (Scarf) ด้วยก็ได้ 
                - ถ้าจะผูกผ้าพันคอจะต้องผูกให้กระชับและจะต้องสอดเข้าในเสื้อการตกแต่งชุด  อนุญาตให้ตกแต่งชุดได้

รองเท้า   ไม่บังคับแต่ต้องสวมถุงเท้าสีดำ
ทรงผม   ควรเป็นทรงผมสั้น ถ้าเป็นผมยาวให้มัดเป็นหางม้า
เครื่องประดับ ประธานเทคนิคมีสิทธิ์ขอให้ผู้เข้าแข่งขันถอดเครื่องประดับออก  หากเห็นว่าเครื่องประดับชิ้นนั้น อาจเป็นอันตรายต่อคู่ของตนเองหรือต่อคู่แข่งขันอื่น

การแต่งกายสุภาพบุรุษประเภท Standard

แบบตัวอย่าง : การแต่งกายสุภาพบุรุษประเภทสแตนดาส์ด รุ่นยูธส์(Youth)

ชุดหางยาว (Tail Suit) สีดำ หรือสีกรมท่าพร้อมชุดประดับ (เสื้อเชิ้ต  โบว์ไทน์ กระดุม ฯลฯ)
สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
      ไม่อนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ของศาสนา ในการตกแต่งชุดหรือใช้แทนเครื่องประดับ ไม่อนุญาตให้มีการสับเปลี่ยนชุด  ระหว่างการแข่งขันแต่ละรอบ  ยกเว้นความจำเป็นในบางกรณีที่ชุดประสบปัญหา และเกิดขัดข้องไม่สามารถที่จะใช้สวมใส่ได้
การโฆษณา    การโฆษณาให้เป็นไปตามกฎการแข่งขัน ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ  (IDSF)
หมายเหตุ       คำอธิบายของประโยค (ประกอบแบบตัวอย่าง)

                     IA = บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ (Intimacy area) – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ,    ส่วนของร่างกายที่จะต้องถูกปกปิดให้มิดชิดด้วยวัสดุที่ทึบ หรือส่วนที่ใช้วัสดุโปร่งใส บดบังด้วยวัสดุที่ทึบ หากใช้สีเนื้อต้องปกปิดด้วยการตกแต่ง    
                    ***สีเนื้อหรือสีผิวหนัง =สีที่ดูออกเป็นสีเดียวกันกับสีผิวของผู้แข่งขันระหว่างทำการแข่งขัน(ร่วมกับการย้อมสีผิว)
                   SA = บริเวณส่วนเว้าส่วนโค้งของร่างกาย (Shape area) – บริเวณส่วนน้อยที่ต้องปกปิดนี้อนุญาตให้ใช้วัสดุหรือผ้าที่โปร่งใสได้ กรณีนี้ใช้สีอะไรก็ได้
                               วัสดุที่ใช้เป็นหลัก 
                                            - ที่มีแสงสะท้อน (โลหะ, กากเพชร, เลื่อม, …)
                                            - ที่ไม่มีแสงสะท้อน 
                                การตกแต่ง – การใช้สิ่งต่างๆ ติดลงบนวัสดุที่เป็นหลัก, บนผม, ผิวหนัง 

                                              - ที่มีแสงสะท้อน (พลอยเทียม, เลื่อม, ลูกปัด, มุก, …)   
                                              - ที่ไม่มีแสงสะท้อน (ขนนก, ดอกไม้, โบว์, ไหมญี่ปุ่น, สิ่งถัก-ทอ, ริบบิ้น, …)
                                       *** ที่หนีบไทด์, กระดุม, ผ้าพันคอ, หัวเข็มขัด ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตกแต่ง

                         HL = แนวของสะโพก (Hip Line) – ขอบกางเกงชั้นใน (ขนาดของความต่ำ)
                              – แนวตรงของขอบ, แนวสูงสุดด้านบนอยู่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพก (Intergluteal line) ต้องไม่
                                 ดู โจ่งแจ้ง
                          PL = แนวกางเกงชั้นใน (Panty Line) – ขอบล่างของกางเกงชั้นใน (ขนาดของความสูง)
                              o ด้านหลัง – ต้องครอบคลุมสะโพกทั้งหมด
                              o ด้านหน้า – แนวเชื่อมต่อระหว่างง่ามขา – (ช่วงพับระหว่างสะโพกกับลำตัว)
                            ระยะห่างระหว่างแนวสะโพกและแนวกางเกงชั้นในบนด้านข้างต้องไม่ต่ำกว่า 5 ซม.

 

 

******************************************************************

 

©2019 สมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย. All rights reserved.

Powered By Dgen Soft Co.,Ltd.